ปริญญานิพนธ์
เรื่อง
การพัฒนาโปรแกรมการฝึกเพื่อพัฒนาจุดเริ่มล้าในนักวิ่งระยะ 1,500 เมตร
นายโรม วงศ์ประเสริฐ
พลศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
1. มีหลักการและขั้นตอนในการพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษาอย่างไร
สื่อเละเทคโนโลยีที่ใช้ในการศึกษาและวิจัยในครั้งนี้คือ การพัฒนาโปรแกรมการฝึกเพื่อพัฒนาจุดเริ่มล้าในนักวิ่ง ซึ่งโปรแกรมการฝึกนี้ได้มีผู้ริเริ่มแนวคิดและทฤษฎีสำหรับการพัฒนาการฝึกกีฬามาอยู่ก่อนบ้างแล้ว ผู้วิจัยเองนั้นได้นำแนวคิด หลักการและทฤษฎีมาปรับใช้ให้เข้ากับกีฬาที่เป็นลักษณะเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้นคือกีฬากรีฑา โดยทำการทดสอบโดยแบ่งกระบวนการวิจัยเชิงทดลองออกเป็น 3 กระบวนการดังนี้
1.1 กระบวนการทดลองระยะที่ 1 ใช้ระยะเวลา 3 เดือน กลุ่มตัวอย่างคือนักกรีฑาทั้งชายและหญิงจำนวน 60 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มๆละ 20 คนแล้วทำการฝึกแยกกลุ่ม
- โปรแกรมการฝึกต่ำกว่าระดับจุดเริ่มล้า (90 % ของอัตราการเต้นของหัวใจที่ระดับจุดเริ่มล้า) 20 คน
- โปรแกรมการฝึกในระดับจุดเริ่มล้า 20 คน(100%ของอัตราการเต้นของหัวใยจที่ระดับจุดเริ่มล้า)
- โปรแกรมการฝึก
ระดับสูงกว่าจุดเริ่มล้า (110%ของอัตราการเต้นของหัวใจที่ระดับจุดเริ่มล้า) 20 คน
แล้วเปรียบเทียบดูทั้ง 3 กลุ่มตัวอย่างว่ากลุ่มใดมีระดับของผลที่มีมากต่อการพัฒนาจุดเริ่มล้ามากที่สุด เพื่อนำไปใช้ในการทดลองกับกลุ่มนักกีฬาที่ต้องการความเข้มข้นของการฝึกสูงขึ้น
1.2 กระบวนการทดลองระยะที่ 2 ระยะเวลา 3 เดือน เป็นการนำโปรแกรมที่วิจัยแล้วว่าเกิดผลดีที่สุดมาใช้กับการฝึกกลุ่มนักกีฬากรีฑาประเภทวิ่ง 1,500 เมตร ซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องการจะศึกษาจำนวน 16 คน เป็นระยะเวลา 3 เดือน ประกอบไปด้วย
- โปรแกรมการฝึกในระยะทั่วไป (General Phase) 3 สัปดาห์
- โปรแกรมการฝึกในระยะเฉพาะ (Specific Phase) 7 สัปดาห์
- โปรแกรมการฝึกในระยะการแข่งขัน (Competition Phase) 2 สัปดาห์
1.3 กระบวนการศึกษาเฉพาะกรณี (Case Study) ซึ่งในกระบวนการนี้เป็นกระบวนการศึกษาร่วมกับกระบวนการทดลองระยะที่ 2 โดยเฉพาะกับนักกีฬาทีมชาติไทย ซึ่งอยู่ในช่วงระหว่างการพัฒนาระยะทาง 1,500 เมตร เพื่อนำไปสู่พัฒนาการระยะ 5,000 เมตร ในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ปี 2003
ซึ่งแนวคิด หลักการ และทฤษฎีในการศึกษาตลอดจนถูกออกแบบมาเป็นโปรแกรมการฝึกในรูปแบบต่างๆนั้นเกิดมาจากความต้องการในการพัฒนาวิทยาการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการฝึกกีฬา ต้องการให้นักกีฬามีความสามารถเฉพาะต่อกีฬาที่เล่นมากยิ่งขึ้น โปรแกรมการฝึกจึงเป็นสิ่งสำคัญและเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกีฬาให้สูงยิ่งขึ้น ซึ่งต้องอาศัยการวิจัยอย่างเป็นขั้นตอน มีเหตุผล และสามารถตรวจสอบหรือทดสอบได้ได้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จึงจะสามารถนำไปใช้ได้อย่างแพร่หลายได้ ซึ่งการพัฒนาโปรแกรมการฝึกนี้เกิดขึ้นจากตัวผู้วิจัยที่ต้องการศึกษาในการพัฒนาความแข็งแรง ความอดทนของร่างกายในการวิ่งที่มากขึ้นในการวิ่งระยะทาง 1,500 เมตร ซึ่งการวิ่งระยะทางที่มากขึ้นย่อมที่จะเกิดความล้าที่เพิ่มมากขึ้นในระหว่างการแข่งขัน ซึ่งถ้าเราไม่มีสมรรถภาพทางกายที่ดีพอ ความล้าในร่างกายอาจถูกกำหนดเป็นตัวชี้วัดในการแข่งขันนี้ได้ เมื่อรวมกับการได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา หรือการแพทย์ ให้คำแนะนำในโปรแกรมการฝึก ยิ่งทำให้งานวิจัยนี้ดูมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น จนในที่สุดก็ถูกพัฒนามาเป็นโปรแกรมที่ใช้ในการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างนั่นเอง
ในการวิจัยครั้งนี้เนื่องจากการทดสอบบางชนิดเป็นการทดสอบที่เกี่ยวกับเรื่องเคมีทางการแพทย์เข้ามาเกี่ยวข้องหลายชนิด ในเรื่องของการวัดค่ากรดแลคติคในการแสเลือด หรือแม้แต่เครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการวิจัยบางตัวมีราคาสูงมาก ซึ่งผู้วิจัยเองก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีในการช่วยเหลือเก็บข้อมูลทางการวิจัย เช่นการเจาะเลือดเพื่ออ่านค่ากรดแลคติคในกระแสเลือด หรืออุปกรณ์ช่วยวัดอัตราการเต้นของหัวใจ ซึ่งสามารถรู้อัตราการเต้นของหัวใจในขณะฝึกได้เป็นอย่างดีตลอดช่วงการทดลอง หรือแม้แต่ในโปรแกรมการฝึกกรีฑาที่จะถูกนำมาปรับใช้ในการฝึกซ้อมกีฬากรีฑานี้เอง ก็ยังต้องมีผู้เชี่ยวชาญในด้านกรีฑา หรือผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬามาให้คำแนะนำในการออกแบบโปรแกรมการฝึก หรือการนำวิธีการพัฒนาโปรแกรมการฝึกกีฬาไปสู่การฝึกซ้อมกีฬาในชนิดและสาขานั้นอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะในการฝึกนั้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ยังมีกลุ่มที่เป็นกรณีศึกษา (Case Study) ที่จะต้องเตรียมตัวเข้าสู่การแข่งขันกีฬาซีเกมส์ เพราะฉะนั้น การฝึกของนักกีฬากลุ่มดังกล่าวจะต้องมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อให้ผลการแข่งขันออกมาเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้
ทุกสิ่งที่กล่าวมานี้ล้วนเป็นเทคโนโลยีที่จะช่วยเป็นแรงเสริมไปสู่การพัฒนาโปรแกรมการฝึกกีฬาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นทั้งสิ้น ช่วยปัญหาและเวลาในการใช้เครื่องมือต่างๆ ตลอดจนทำให้งานวิจัยมีความรวดเร็ว สามารถแปรผลจากการฝึกได้เร็ว แม่นยำ และมีความเชื่อมั่นมากยิ่งขึ้น
3. ผลการนำสื่อและเทคโนโลยีการศึกษามาใช้เป็นอย่างไร
จากการศึกษาวิจัยรวมทั้งหมดแล้วผลปรากฏว่า โปรแกรมการฝึกที่ความหนักของอัตราการเต้นของหัวใจสูงกว่าจุดเริ่มล้า สามารถพัฒนาจุดเริ่มล้าได้ดี นั้นก็หมายความว่า ในการฝึกที่ระดับสูงกว่าจุดเริ่มล้านั้น มีผลทำให้เกิดความล้าจากการแข่งขันกีฬาในประเภทกีฬาช้าลง ทำให้นักกีฬามีสถิติการแข่งขันที่ดียิ่งขึ้น แต่งานวิจัยนี้มีข้อที่ควรระวังคือ การพัฒนาโปรแกรมการฝึกนี้ใช้ในกับนักกีฬาที่เข้าแข่งขันระดับประเทศ หรือนักกีฬาเพื่อฝึกเพื่อความเป็นเลิศเท่านั้น ซึ่งในการทดสอบผลการเปลี่ยนแปลงนอกจากจะมีการทดสอบวิ่งตามระยะทางเพื่อหากรดแลคติคจากการวิ่งแล้วนั้น ยังมีการทดสอบสมรรถภาพทางกายอีกหลายรายการ เพื่อศึกษาถึงผลเปลี่ยนแปลงจากการใช้โปรแกรมการฝึกนี้ ฉะนั้นทั้งนักกีฬาและผู้ฝึกสอนควรศึกษาถึงรายละเอียดในการฝึกให้ดีก่อนนำไปใช้ และให้เกิดการพัฒนาของนักกีฬาจนเองให้มากที่สุด
การพัฒนาโปรแกรมการฝึกชนิดเพื่อพัฒนาจุดเริ่มล้านับได้ว่ามีประโยชน์อย่างยิ่ง ต่อการพัฒนานักกีฬาระดับเพื่อความเป็นเลิศ เพราะนอกจากจะเป็นการพัฒนาเพื่อนักกีฬาไทยโดยเฉพาะแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อผู้ฝึกสอนกีฬาชนิดอื่น ในการนำโปรแกรมพัฒนานี้ไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับนักกีฬาของตนเองเพื่อให้เกิดศักยภาพในการเล่นกีฬาอย่างสูงสุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น